.
ระบบ MOU เป็นระบบที่รัฐบาลไทยและประเทศเพื่อนบ้านร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อควบคุมการนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทุกขั้นตอนมีการบันทึกและตรวจสอบได้ ทำให้สามารถติดตามและควบคุมการทำงานของแรงงานต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาแรงงานเถื่อน
ใบอนุญาตทำงานเป็นเอกสารที่ออกให้โดยกรมการจัดหางาน เพื่ออนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานในประเทศไทยได้ตามประเภทงานและสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
แรงงานต่างด้าวทุกคนที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องเข้ารับการอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ และวัฒนธรรมการทำงานในประเทศไทย ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง โดยแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการอบรมจะได้รับใบอนุญาตแรงงาน
แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก 90 วัน สามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ล่วงหน้า 15 วัน หรือหลังจากนั้น 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเลยกำหนดการแจ้งที่พักอาศัย อาจถูกปรับ 2,000 บาท โปรดวางแผนและเตรียมเอกสารให้พร้อม
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยจะต้องทำการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) มีรายการตรวจโรคดังต่อไปนี้
โรคเรื้อน (Leprosy) ในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏ อาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
วัณโรคระยะในระยะอันตราย (Advandced Pulmonary Tuberculosis)
โรคพิษสุราเรื้อรัง (Chronic alcoholish)
โรคเท้าช้างระยะปรากฏอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม (Elephantiasis)
โรคยาเสพติดให้โทษ (Drug addiction)
โรคซิฟิลิสใน (syphilis)
การจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และมีโทษตามกฎหมายที่ค่อนข้างรุนแรง ทั้งต่อนายจ้างและตัวแรงงานต่างด้าวเอง
ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือหากกรณีที่อายุน้อยกว่า 18 ปี แรงงานต้องไม่น้อยกว่า 15 ปี ซึ่งแรงงานเหล่านี้สามารถทำงานได้เฉพาะงานที่ไม่เป็นอันตราย เช่น งานที่ไม่เกี่ยวข้องกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตราย งานที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานีบริการที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น
โดยทั่วไป แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยและมีใบอนุญาตทำงานอย่างถูกต้อง จะต้องเข้าร่วมระบบประกันสังคมตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือบริษัทเอกชนต่างๆ